วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 6 ทำงานกับเลเยอร์

เลเยอร์ ( Layer )

ความหมายของเลเยอร์

       ลักษณะการทำงานแบบเลเยอร์ เป็นเหมือนการวางแผ่นใส ซ้อนทับกันเป็นลำดับขั้นขึ้นมาเรื่อยๆ โดยแต่ละแผ่นใส เปรียบเสมือน
เป็นแต่ละเลเยอร์ บริเวณของเลเยอร์ที่ไม่มีรูป จะเห็นทะลุถึงเลเยอร์ที่อยู่ข้างล่าง โดยกระบวนการเช่นนี้ จะทำให้เกิดเป็นรูปภาพ
สมบูรณ์ และทำให้เราสามารถจัดวางงานได้ง่าย
การใช้งาน Layers Palette

       Layers Palette เป็นศูนย์รวมของเลเยอร์ทั้งหมด ที่มีอยู่ในภาพ โดยเรียงตามลำดับ จากเลเยอร์ที่อยู่บนสุดไปจนถึงเลเยอร์
ที่อยู่ล่างสุด มี Scoolbar เลื่อนขึ้นลงเพื่อดูเลเยอร์ต่างๆ แต่ละเลเยอร์จะมีชื่อของเลเยอร์นั้นๆ อยู่ นอกจากนี้ Layers Palette
ยังเป็นเหมือนตัวควบคุม ลักษณะการใช้งานของเลเยอร์ทั้งหมด เราสามารถเรียก Layers Palette ขึ้นมาใช้งาน
โดยการใช้คำสั่ง Window> Show Layers ที่แถบเมนู
Active Layer

       ในการใช้งานโปรแกรม Photoshop นั้นแม้จะประกอบไปด้วยเลเยอร์หลายเลเยอร์ แต่เราจะทำงานได้เพียงทีละเลเยอร์เท่านั้น
เลเยอร์ที่เรากำลังทำงานอยู่ เราเรียกว่า Active Layer ซึ่งใน Layers Palette จะปรากฏเป็นแถบสีน้ำเงิน และมีไอคอน
ปรากฏอยู่ในช่องแสดงสถานะของเลเยอร์ เช่น แสดงว่ากำลังทำการปรับแต่งเลเยอร์อยู่ หรือ
เป็นการเพิ่มเลเยอร์ Mask ให้กับเลเยอร์นั้น
การเปลี่ยนการทำงานไปในเลเยอร์ต่างๆ

เราสามารถเรียกเลเยอร์ใดทำงานได้ โดยการเลื่อนเมาส์ ไปที่เลเยอร์ที่ต้องการ ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูป แล้ว Click mouse ที่แถบของเลเยอร์นั้น เลเยอร์นั้นจะกลายเป็น Active Layer โดยทันที
 
การซ่อนและแสดงเลเยอร์

       ภาพภาพหนึ่งจะประกอบไปด้วย เลเยอร์หลายเลเยอร์ ในบางครั้งหากเราต้องการปิดบางเลเยอร์ ไม่ให้มองเห็น ก่อน เพื่อความสะดวกในการทำงาน โดยที่ไม่ได้ลบเลเยอร์นั้นทิ้ง เราสามารถสั่งให้มีการซ่อน และแสดงเลเยอร์ได้ โดย
       1. ซ่อนเลเยอร์โดย Click mouse ที่  เพื่อซ่อนเลเยอร์ ซึ่งช่องสถานะนั้นจะเปลี่ยนเป็น 
       2. ผลลัพธ์ที่ได้ คือ เลเยอร์ Mushroom จะหายไป
       3. แสดงเลเยอร์โดย Click mouse ที่  อีกครั้งหนึ่ง เพื่อแสดงเลเยอร์ ช่องสถานะจะเปลี่ยนกลับมาเป็น 
       4. ผลลัพธ์ที่ได้ เลเยอร์ Mushroom จะปรากฏขึ้นอีกครั้ง
       5. ซ่อนและแสดงหลายๆ เลเยอร์พร้อมกัน โดยการ Drag mouse ผ่านช่องสี่เหลี่ยมต่างๆ
       6. ผลลัพธ์ที่ได้ เลเยอร์ Vegetable, Gevi, Orange และ Mushroom จะหายไป



การสร้างเลเยอร์เพิ่ม ที่ด้านล่างของส่วนเลเยอร์ คลิกที่เครื่องหมายสัญญลักษณ์
สี่เหลี่ยมพับมุม ถ้าต้องการ จะก้อปปี้เลเยอร์ ให้คลิกซ้ายค้างที่เลเยอร์ที่ต้องการ ลากไปที่
สัญญลักษณ์ สี่เหลี่ยมพับมุม ส่วนการลบ ก็ใช้การลากเลเยอร ์ที่ไม่ต้องการไปที่
สัญญลักษณ์ ถังขยะ


Opacity (ลดความเข้มของภาพลง)
ในส่วนของ เลเยอร์ มีเครื่องมือตัวนี้มาให้เพื่อช่วยลดความเข้มของภาพลง ทำให้ภาพดูใสในเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำๆ
หรือในบางครั้ง ใช้เพื่อทำให้ภาพดูซอฟท์ลง ไม่ให้ดูแข็งเกินไป
 

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 5 การสร้างข้อความตกแต่งภาพ






การสร้างข้อความตกแต่งภาพ
การสร้างข้อความตกแต่งภาพ 
การสร้างงานกราฟิกนอกจากจะเป็นการนาภาพหลาย ๆ ภาพมาตกแต่งเป็นเรื่องราวแล้ว เรายังสามารถใส่ข้อความประกอบการนาเสนอได้ด้วย ชึ่งเนื้อหาในบทนี้เราจะกล่าวกันถึงเรื่องการใส่ตัวอักษรลงไปในภาพ โดยใช้คาสั่งในตระกูล Type Tool และปรับแต่งตัวอักษรและข้อความต่าง ๆ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายความแตกต่างระหว่างตัวอักษรแบบเวกเตอร์และบิตแมพ
2. สร้างตัวอักษรแบบ Point type และ Paragraph type ได้
3. ปรับรูปแบบตัวอักษรเพื่อประกอบบนชิ้นงานได้
4. ใช้ตัวอักษรภาษาไทยใน Photoshop ได้
5. สร้างตัวอักษรแบบบิพแมพได้

5.1 รู้จักกับประเภทของตัวอักษร ตัวอักษรที่ใช้ในโปรแกรมกราฟิก โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบเวกเตอร์ (Vector) 
ตัวอักษรแบบเวกเตอร์ จะเกิดจากการลากเส้นตรง เส้นโค้งที่คานวณด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ จากจุดหนึ่งไปยังสู่จุดหนึ่ง ต่อเนื่องจนเกิดเป็นภาพหรือตัวอักษร
ตัวอักษรแบบเวกเตอร์จะไม่มีปัญหาเรื่องรอยแตกบนขอบตัวอักษร เมื่อเกิดการย่อ/ขยายตัวอักษรมาก ๆ จึงเหมาะสาหรับนามาใช้ในงานสิ่งพิมพ์ และงานศิลป์ อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรแบบนี้จะนาไปตกแต่งเอฟเฟ็กต์โดยใช้ฟิลเตอร์ไม่ได้ 
แบบบิดแมพ (Bitmap) ตัวอักษรแบบบิตแมพ จะเกิดจากการเรียงช่องสีเป็นตารางเพื่อสร้างภาพ หรือตัวอักษร ทาให้สะดวกในการประมวลผลเรื่องสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงสี และการตกแต่งภาพ ฉะนั้นข้อดีของอักษรแบบบิตแมพ คือ สามารถใช้ได้กับการใส่เอฟเฟ็กต์ และฟิลเตอร์ ในขณะที่ข้อเสีย คือ เมื่อมีการขยายขนาดจะทาให้ ช่องสีขยายใหญ่เกินไปจนเห็นตัวอักษรแตกเป็นช่องเหลี่ยม ๆ
จา
ฉะนั้นหลักการและเทคนิคในการปรับแต่งตัวอักษรที่ดีที่สุด คือ พิมพ์ตัวอักษร (การพิมพ์จะได้ตัวอักษรแบบเวกเตอร์) กาหนดขนาดและดูความถูกต้องของตัวอักษร หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนจากตัวอักษรแบบเวกเตอร์มาเป็นตัวอักษรแบบบิตแมพ เพื่อปรับเปลี่ยนสี และใส่เอฟเฟ็กต์ให้กับตัวอักษร เพราะถ้าเราแปลงข้อความจากเวกเตอร์เป็นบิตแมพ แล้วต่อจากนั้นมาปรับขนาดทีหลังจะส่งผลให้ตัวอักษรแตกได้ 1.2 เครื่องมือในการสร้างตัวอักษร 
เราสามารถสร้างข้อความได้ โดยใช้คาสั่ง Type Tool ซึ่งมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป 4 รูปแบบ ดังน 
5.3 การสร้างตัวอักษรแบบเวกเตอร์ 
ตัวอักษรแบบเวกเตอร์ เหมาะสาหรับการนาเสนอข้อความที่มีความคมชัด และมีสีสันเรียบง่าย เพราะตัวอักษรแบบเวกเตอร์ไม่สามารถใส่เอฟเฟ็กต์ได้มากนัก
ตัวอักษรแบบเวกเตอร์ มีอยู่ 2 แบบ คือ Point type และ Paragraph type ซึ่งต่างกันตรงที่ Point type จะเป็นข้อความชื่อเรื่อง ส่วน Paragraph type จะเป็นข้อความเนื้อเรื่องที่มีหลายบรรทัด หรือมีลักษณะเป็น
ตัวอักษรแบบ
Paragraph
7.คลิกเมาส์ยืนยันใช้ข้อความที่สร้างไว้

ภาพเริ่มต้นก่อนใส่ข้อความโฆษณา
1.คลิกเลือก
Type Tool ตามที่ต้องการ
4.เลือกขนาดตัวอักษ
5.เลือกสีของตัวอักษร
6.คลิกเมาส์และพิมพ์ข้อความที่

ข้อความแนวนอน

 
 
1. คลิกเมาส์เลือก Horizontal Type Tool เพื่อสร้างข้อความในแนวนอน หรือ Vertical Tool เพื่อ สร้าง ข้อความในแนวตั้ง
2. ในออปชั่นบาร์ ให้เรากาหนดรูปแบบของตัวอักษร
3. กาหนดลักษณะของตัวอักษร ได้แก่ ตัวหนา ตัวเอียง หรือตัวปกติ
4. กาหนดขนาดของตัวอักษร
5. กาหนดสีของตัวอักษร
6. คลิกเมาส์ลงไปในชิ้นงาน และพิมพ์ข้อความที่ต้องการ
7. คลิกเมาส์ปุ่ม เพื่อยืนยันใช้ข้อความที่เราได้สร้างเอาไว้นี้ 
ย่อหน้า สร้าง
1. คลิกเมาส์เลือก Horizontal Type Tool เพื่อสร้างข้อความในแนวนอน หรือ Vertical Type Tool เพื่อ สร้างข้อความในแนวตั้ง
2. ลากเมาส์เป็นพื้นที่กรอบสี่เหลี่ยมเพื่อกาหนดเป็นบริเวณใส่ข้อความ
3. ในออปชั่นบาร์ ให้เรากาหนดรูปแบบของตัวอักษร
4. พิมพ์ข้อความที่ต้องการลงในพื้นที่ว่างในกรอบสี่เหลี่ยมนั้น
5. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม เพื่อยืนยันใช้ข้อความที่เราได้สร้างเอาไว้นี้ 
6. แสดงข้อความในลักษณะของ Paragraph ตามที่เราต้องการ TIP
โหมดสี Multichannel, Bitmap และ Indexed Color จะไม่สนับสนุนการทางานแบบเลเยอร์ ดังนั้นเมื่อเราพิมพ์ข้อความลงไปในภาพที่ใช้โหมดสีเหล่านี้ ข้อความที่พิมพ์จะทับอยู่บนภาพ Background โดยที่เราไม่สามารถแก้ไขข้อความได้ แต่ในกรณีที่เราต้องการแยกข้อความให้อยู่ในอีกเลเยอร์เพื่อจะสามารถแก้ไขได้ เราจะต้องใช้โหมดสีอื่น (การเปลี่ยนโหมดสีจะกล่าวในบทความรู้เรื่องสี) 5.6 การกาหนดรูปแบบตัวอักษร เราสามารถปรับแต่งตัวอักษรได้เพิ่มเติม โดยอาศัยการคลิกเมาส์ที่ปุ่ม บนออปชั่นบาร์ หรือเลือกคาสั่ง Window>Character เพื่อเปิดพาเนล Character
Font Type Style
Size Leading
Kerning Tracking
Vertically Scale Horizontally Scale
Baseline Color
ลักษณะตัวอักษร
Language Anti-Alias
Font กาหนดรูปแบบตัวอักษร 
6. ตกแต่งตัวอักษรด้วยพาเนล Style และ Layer Style ได้ 
5.คลิกเมาส์และลาก เพื่อย้ายตาแหน่งภาพ จากนั้นกดปุ่ม <Enter>เมื่อปรับรูปทรง5.1 รู้จักกับประเภทของตัวอักษร ตัวอักษรที่ใช้ในโปรแกรมกราฟิก โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบเวกเตอร์ (Vector) ตัวอักษรแบบเวกเตอร์ จะเกิดจากการลากเส้นตรง เส้นโค้งที่คานวณด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ จากจุดหนึ่งไปยังสู่จุดหนึ่ง ต่อเนื่องจนเกิดเป็นภาพหรือตัวอักษร
ตัวอักษรแบบเวกเตอร์จะไม่มีปัญหาเรื่องรอยแตกบนขอบตัวอักษร เมื่อเกิดการย่อ/ขยายตัวอักษรมาก ๆ จึงเหมาะสาหรับนามาใช้ในงานสิ่งพิมพ์ และงานศิลป์ อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรแบบนี้จะนาไปตกแต่งเอฟเฟ็กต์โดยใช้ฟิลเตอร์ไม่ได้ 
แบบบิดแมพ (Bitmap) ตัวอักษรแบบบิตแมพ จะเกิดจากการเรียงช่องสีเป็นตารางเพื่อสร้างภาพ หรือตัวอักษร ทาให้สะดวกในการประมวลผลเรื่องสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงสี และการตกแต่งภาพ ฉะนั้นข้อดีของอักษรแบบบิตแมพ คือ สามารถใช้ได้กับการใส่เอฟเฟ็กต์ และฟิลเตอร์ ในขณะที่ข้อเสีย คือ เมื่อมีการขยายขนาดจะทาให้ ช่องสีขยายใหญ่เกินไปจนเห็นตัวอักษรแตกเป็นช่องเหลี่ยม ๆ 

จากข้อดีและข้อเสียของตัวอักษรแบบเวกเตอร์ และบิตแมพที่ผ่านมาเราสรุปได้ดังนี้คือ ตัวอักษรเวกเตอร์
ตัวอักษรบิตแมพ 1.ปรับเปลี่ยนขนาดได้ตามใจชอบภาพไม่แตก 1.ปรับเปลี่ยนขนาด ภาพจะแตก 2.แก้ไขข้อความได้ง่าย 2.แก้ไขข้อความยาก หรือแก้ไขไม่ได้ 3.การปรับแต่งสี และลูกเล่นทาได้น้อยมาก 3.การปรับแต่งสี และลูกเล่นทาได้มาก

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 4 การปรับรูปทรงภาพด้วยวิธี Transform





การปรับรูปทรงภาพด้วยวิธี Transform
ในบทนี้เราจะทาการปรับขนาดภาพ หมุนภาพ และบิดภาพ เพื่อให้ได้รูปทรงในแบบที่เราต้องการเราเรียกวิธีการนี้ว่า “Transform” ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1.ปรับขนาดภาพด้วยวิธีการ Scale ได้
2.หมุนภาพด้วยคาสั่ง Scale ได้
3.เอียงภาพด้วยคาสั่ง Skew ได้
4.บิดภาพด้วยคาสั่ง Distort ได้
5.บิดภาพให้มีมิติด้วย Perspective ได้
6.ดัดภาพให้โค้งด้วยคาสั่ง Warp ได้ รูปที่ 2.86 ภาพการปรับขนาดภาพ
ในบทนี้เราจะทา การปรับขนาดภาพ หมุนภาพ และบิดภาพ เพื่อให้ได้รูปทรงภาพในแบบที่เราต้องการ เราเรียกวิธีการนี้ว่า “ Transform”
Transform คือ วิธีการนา ภาพหรือพื้นที่ภาพที่เราเลือกไว้ มาปรับรูปทรงให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ปรับ ภาพให้มีขนาดเล็กลง ปรับทิศทางการวางภาพให้เอียง ยืดและบิดภาพ เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้สามารถปรับได้ ตามคา สั่งที่ใช้โปรแกรมกา หนดไว้ด้วยคา สั่ง Transform และปรับได้โดยเราเป็นผู้กา หนดเองด้วยคา สั่ง Free Transform 4.1 ปรับขนาดภาพ ( Scale ) ในการซ้อนภาพ บางครั้งภาพที่นา มาไม่สามารถซ้อนกันได้พอดี ต้องมีการปรับขนาดก่อน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ตัดภาพผู้หญิงมาวางซ้อนไว้บนภาพแผ่นฟิ ล์ม ภาพที่ตัดมาวางขนาดใหญ่เกินไป
ปรับขนาดภาพให้เล็กลง
1.ใช้ Rectangular Marquee Tool เลือกภาพผู้หญิง 3.เลือก Edit>Transform>Scale เพื่อปรับขนาดภาพ 4.ลากเมาส์ที่มุมภาพเพื่อปรับขนาดและเลื่อนตาแหน่งภาพให้วางพอดี รูปที่ 2.87 ภาพตัวอย่าง 2.ใช้ Move Tool ลากภาพผู้หญิงมาวางบนภาพแผ่นฟิล์ม 1. ใช้ Rectangular Marquee Tool เลือกภาพผู้หญิง นาภาพกบมาวางอยู่บนภาพใบบัว ลองหมุนภาพเพื่อให้ได้มุมลงตัวยิ่งขึ้น รูปที่ 2.88 ภาพการหมุนภาพ 2. ใช้ Move Tool ลากภาพผู้หญิงมาวางบนภาพแผ่นฟิล์ม สังเกตได้ว่าภาพของผู้หญิงมีขนาดที่ใหญ่กว่า พื้นที่ของแผ่นฟิล์มไม่สามารถวางซ้อนภาพได้อย่างพอดี
3. เลือกคาสั่ง Edit>Transform>Scale เพื่อเข้าสู่การย่อ/ขยายขนาดของภาพ
4. จะปรากฏรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบภาพ จากนั้นคลิกเมาส์ที่มุมของกรอบ ตัวเมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูปแล้ว ลากเมาส์เพื่อลดขนาดภาพตามต้องการ (หากต้องการปรับขนาดภาพให้ได้สัดส่วน ให้กด แป้น>Shift>ค้างไว้ แล้วลากเมาส์ปรับย่อ/ขยายขนาดภาพได้)
5. เมื่อได้ขนาดภาพที่ต้องการแล้ว ให้กดแป้น <Enter>เพื่อยืนยันการปรับรูปทรงภาพ หรือกดแป้น <ESC>เพื่อยกเลิกการปรับรูปทรงภาพ
4.2 หมุนภาพ ( Rotate) หากภาพที่นามาอยู่ในทิศทาง หรือมุมที่ไม่ลงตัว เราสามารถหมุนภาพได้ ดังขั้นตอนต่อไปนี้ 2.ลากเมาส์ที่มุมภาพเพื่อหมุนภาพ 3.กด <Enter>เมื่อได้ภาพในทิศทางที่ต้องการ 1.เลือก Edit>Transform>Rotate เพื่อหมุนภาพ รูปที่ 2.89 ภาพตัวอย่างการหมุนภาพ 1. เลือกคาสั่ง Edit>Transform>Rotate เพื่อเข้าสู่การหมุนภาพ
2. จะปรากฏกรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบภาพที่จะหมุน จากนั้นเลื่อนเมาส์ไปบริเวณไอคอนสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จนตัวชี้เมาส์เปลี่ยนเป็นรูปแล้วลากเมาส์หมุนภาพ(หากจะหมุนภาพให้ได้ครั้งละ 15 องศา ให้ กดแป้น <Shift>ค้างไว้ จากนั้นจึงหมุนภาพ)
3. เมื่อได้ภาพเอียงในมุมที่ต้องการแล้วให้กดแป้น <Enter> เพื่อยืนยันการปรับรูปทรงภาพ หรือกดแป้น <ESC>เพื่อยกเลิกการปรับรูปทรงภาพ
แม้เราจะหมุนภาพได้อย่างอิสระในคาสั่ง Rotate แต่ถ้าต้องการหมุนภาพครั้งละ 90 และ180 องศาอย่างพอดี ให้เปลี่ยนไปใช้คาสั่ง Edit>Transform>เลือกคาสั่งหมุนหรือกลับภาพตาม ต้องการ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
เลือกพื้นที่ภาพ และเลือกคาสั่ง Edit>Transform>เลือกรูปแบบของการหมุน หรือกลับภาพที่ต้องการ รูปที่ 2.90 ภาพการหมุนภาพ ภาพต้นแบบRotate 1800หมุนภาพ 180 องศา Rotate 900 CW หมุนภาพ Rotate 900 CCW หมุนภาพFlip Horizontal กลับภาพในFlip Vertical กลับภาพใน ตามเข็มนาฬิกา 90 องศาทวนเข็มนาฬิกาไป 90 องศา แนวนอนหรือกลับซ้ายเป็นขวา แนวตั้งหรือกลับบนลงล่าง
4.3 เอียงภาพ (Skew) 1.เลือก Edit>Transform>Skewเพื่อเอียงภาพ 1.เลือกคาสั่ง Edit>Transform>Perspective เพื่อบิดภาพให้ดูมีมิติ รูปที่ 2.93 ภาพการบิดภาพให้เป็นมิติ รูปที่ 2.91 ภาพการเอียงภาพ เป็นการเอียงกรอบด้านใดด้านหนึ่งของภาพ ทาให้ลักษณะของภาพลาดเอียง ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้
ภาพที่ต้องการเอียง เอียงภาพเข้าที่แล้ว 1.เลือกคาสั่ง Edit>Transform>Skew เพื่อเอียงภาพ
2.จะปรากฏกรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบภาพ คลิกเมาส์ที่ด้านของภาพ ตัวชี้เมาส์เป็นรูป แล้วลากเมาส์เอียงภาพตามมุมต่าง ๆ ตามต้องการ
3.เมื่อได้ภาพตามที่ต้องการแล้ว ให้กดแป้น <Enter>เพื่อยืนยันการปรับรูปทรงภาพหรือกดแป้น<ESC>เพื่อยกเลิกการปรับรูปทรงภาพ 4.4 บิดภาพให้ผิดสัดส่วน (Distort) กลุ่มคาสั่ง Quick mask เกี่ยวกับการเลือกพื้นที่อีกรูปแบบหนึ่ง 1.เลือก Edit>Transform>Distort เพื่อบิดภาพ รูปที่ 2.92 ภาพการบิดภาพ เป็นการบิดภาพให้ได้ผิดสัดส่วน ซึ่งทาได้หลายลักษณะ และมีรูปทรงแตกต่างกันไป ลองดูตัวอย่างต่อไป
1. เลือกคาสั่ง Edit>Transform>Distort เพื่อบิดภาพ
2. จะปรากฏกรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบภาพ คลิกเมาส์ที่มุมของภาพ ตัวชี้เมาส์เปลี่ยนเป็นรูปแล้วลาก เมาส์บิดภาพตามมุมต่าง ๆ ตามต้องการ
3. เมื่อได้ขนาดภาพที่ต้องการแล้ว ให้กดแป้น <Enter>เพื่อยืนยันการปรับรูปทรงภาพหรือกดแป้น <ESC>เพื่อยกเลิกการปรับรูปทรงภาพ
1.เลือกคาสั่ง Edit>Transform>Perspective เพื่อบิดภาพให้ดูมีมิติ 1.เลือกคาสั่ง Edit>Transform>Perspective เพื่อบิดรูปที่ 2.93 ภาพการบิดภาพให้เป็นมิติ รูปที่ 2.93 ภาพการบิดภาพให้เป็นมิติ 4.5 บิดภาพให้ดูมีมิติใกล้ไกล (Perspective) เป็นการบิดภาพเพื่อสร้างมิติ มีความลึก ความสูง อทาให้เกิดความรู้สึกใกล้ไกลในภาพได้ ลองดูตัวอย่างต่อไป 3.กด<Enter>เมื่อได้ภาพตามรูปทรงที่ต้องการ 2.ลากเมาส์ที่มุมภาพเพื่อบิดภาพ รูปที่ 2.94 ภาพตัวอย่าง 1. เลือกคาสั่ง Edit>Transform>Perspective เพื่อบิดภาพให้ดูมีมิติ
2. ลากเมาส์เพื่อปรับย่อ หรือขยายมุมของภาพพร้อม ๆ กัน ทั้ง 2 มุม
3. เมื่อได้ขนาดภาพที่ต้องการแล้ว ให้กดแป้น <Enter> เพื่อยืนยันการปรับรูปทรงภาพ
4.6 ดัดภาพให้โค้ง (Warp) เป็นการดัดภาพแนวโค้ง ใช้บ่อยในการสร้างลวดลายบนวัตถุผิวโค้ง ลองดูตัวอย่างต่อไป รูปที่ 2.95 ภาพตัวอย่างการบิดภาพให้เป็นมิติภาพที่ต้องการดัดโค้งให้พอดีกับแก้วน้า ภาพที่ได้บิดรูปทรงแล้ว ภาพที่ได้ดัดโค้งเข้ากับแก้วน้าอย่างลงตัว 1.เลือก Edit>Transform>Warp เพื่อดัดให้โค้ง 2.ลากเมาส์ตามจุด ต่างๆ เพื่อให้ภาพวางพอดีกับแก้ว 4.กด<Enter>เมื่อได้ภาพโค้งตามรูปทรงที่ต้องการ 1. เลือกคาสั่ง Edit>Transform>Warp เพื่อดัดภาพให้โค้ง
2. จะปรากฏเส้นตารางในลักษณะของตาข่าย โดยเราสามารถเลื่อนตาข่ายให้พอดีกับภาพที่จะปรับได้
3. ดัดแขนในแต่ละมุมของตาข่าย เพื่อให้ภาพโค้งตามรูปทรงที่ต้องการ 3.ดัดแขนให้ภาพโค้งพอดีกับแก้ว 1.เลือกเมนู Window>Layers รูปที่ 2.96 ภาพการดัดภาพให้โค้ง 4.สีภาพดัดโค้งจะเปลี่ยน เพื่อให้กลมกลืนกับสีผิวของแก้วมากขึ้น 2.คลิกเลเยอร์ภาพที่ใช้เคลือบบนผิวของแก้ว 4. เมื่อได้ขนาดภาพที่ต้องการแล้ว ให้กดแป้น <Enter> เพื่อยืนยันการปรับรูปทรงภาพ ปรับแต่งภาพที่ซ้อนกันให้สวยสมจริง ตัวอย่างนี้จะประยุกต์การใช้เลเยอร์
เพื่อให้ภาพที่ซ้อนด้านบน เข้าเคลือบบนผิว


วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 3 การตกแต่งและตัดภาพบางส่วน






การตัดภาพเฉพาะส่วน


ภาพที่เราใช้งานอาจจะมาจากแหล่งต่างๆ ภายในภาพอาจจะมีส่วนที่ไม่ต้องการติดมาด้วย ดังนั้นเราสามารถตีกรอบเลือกเฉพาะส่วนที่เราต้องการ ส่วนที่เหลือก็ตัดทิ้งไปได้ โดยใช้เครื่องมือ Crop Tool ซึ่งจะเป็นการตัดภาพให้เหลือแต่ส่วนที่เราเลือก โดยเมื่อทำการตัดภาพแล้วไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีก ดังนี้
........1. คลิกเลือก Crop Tool
........2. คลิกลากเม้าส์กำหนดขอบเขตของภาพที่ต้องการบนภาพเอง หรือจะกำหนดขอบเขต และรายละเอียดต่างๆ ที่หน้าต่าง Crop ที่จะปรากฏขึ้นมาเมื่อเราคลิก ลงไปบนภาพ มีรายละเอียดดังนี้
............• Current layer only ตัดเฉพาะเลเยอร์ที่ทำงานอยู่
............• Allow Growing กำหนดให้สามารถตัดพื้นที่นอกขิอบเขตภาพได้ (Inactive Padding Area) โดยจะได้ผลลัพท์เป็นภาพโปร่งแสงในส่วนนี้
............• Expand from Center กำหนดให้ตแหน่งแรกที่เราคลิกเป็นจุดกลางการตัดภาพ สามารถสลับการใช้งานคำสั่งนี้และการตัดแบบปกติได้โดยการกด Crtl ระหว่างทำการลากพื้นที่
............• Fixed กำหนดพื้นที่ในการตัดภาพแบบตายตัว
....................o Aspect Ratio กำหนดอัตราส่วนระหว่างความกว้าง และความสูง
....................o Width/Height เลือกกำหนดความกว้าง หรือความสูงอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ
....................o Size กำหนดขนาดความกว้างและความสูงแบบตายตัว
............• Position กำหนดตำแหน่งที่ต้องการตัดภาพ
............• Size กำหนดขนาดพื้นที่ที่ต้องการตัด สามารถปรับแต่งขนาดพื้นที่ได้
............• Highlight กำหนดให้ไฮไลท์พื้นที่ที่เลือกตัด
............• Guides แสดงเส้นไกด์ในพื้นที่ที่เลือก
............• Auto Shrink Selection จะเป็นเป็นอ็อบชั่นสำหรับการย่อขนาดการเลือกพื้นที่อัตโนมัติ โดยจะตัดพื้นที่ว่างที่ไม่จำเป็นทิ้ง
........3. คลิกภาพส่วนที่เลือกตัดอีกครั้งเพื่อยืนยันการตัดภาพ หรือคลิกนอกบริเวณที่เลือกเพื่อยกเลิ




วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 2 หลักการสร้างงานกราฟิกและเครื่องมือพื้นฐาน




งาน บทที่ 1-2 (ทำลงใน blogger)


1. ส่วนประกอบของโปรแกรม photoshop cs4  ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

               หน้าต่างการทำงานเริ่มต้น

          เมื่อเรียกเปิดโปรแกรมเข้ามาครั้งแรก จะพบกับพื้นที่การทำงานเริ่มต้นแบบว่างๆ (พื้นที่สีเทาดำ) และจะจัดวางเครื่องมือการทำงานเบื้องต้นเอาไว้รอบๆ ดังภาพ

ส่วนประกอบของโปรแกรม

 แอพพลิเคชั่นบาร์(Application Bar)
          
          จะเป็นแถบเครื่องมือที่เก็บปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ เอาไว้ เช่น เปิดโปรแกรม Bridge หมุนพื้นที่ทำงาน ย่อ-ขยายภาพ, จัดเรียงวินโดว์ภาพและจัดองค์ประกอบของเครื่องมือ

เมนูบาร์(Menu Bar)


          Menu Bar หรือแถบคำสั่งที่เก็บชุดคำสั่งสำหรับจัดการไฟล์งานที่เปิดใช้งาน ใน Photoshop Cs4 โดยแบ่งการทำงานออกเป็นหมวดหมู่ดังนี้


1. File ใช้จัดการไฟล์ลักษณะต่างๆเช่น การสร้างไฟล์ใหม่,การเปิดไฟล์ภาพ,การบันทึก,การนำเข้าไฟล์      และการส่งออกไฟล์เพื่อการทำงานในลักษณะต่างๆ

2. Edit เป็นชุดคำสั่งในหมวดหมู่การแก้ไข เช่น การตัด ,คัดลอก,การวาง รวมถึงการปรับแต่งค่าเบื่องต้นของโปรแกรม

3.  Image เป็นชุดคำสั่งในหมวดหมู่การปรับแต่งภาพ เช่นการปรับสี ,แสง, ความคมชัด ,การลดขนาดภาพและเพิ่มขนาดพื้นที่ใช้งาน เป็นต้น

4.  Layer เป็นชุดคำสั่งที่ใช้จัดการกับเลเยอร์ ทั้งการสร้างเลเยอร์ใหม่ แปลงเลเยอร์และจัดการเลเยอร์ด้านต่างๆ

5.  Select เป็นชุดคำสั่งที่ใส้สำหรับเลือกพื้นที่การใช้งานของรูปภาพ หรือใช้ร่วมกับคำสั่งที่อยู่ในทูลพาเนล

6.  Filter เป็นนชุดคำสั่งที่รวมเอฟเฟ็คต่างที่ใช้ในการปรับแต่งรูปภาพให้พิเศษกว่าภาพต้นฉบับ

7.  Analysis เป้นเครื่องมือวัดค่าและวิเคราะห์การทำงาน มีใช้ในPhotoshop CS4

8.  3D รวมคำสั่งที่ใช้กับภาพสามมิติ เป็นเมนูใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในPhotoshop CS4

9.  View ใช้เลือกรูปแบบการแสดงผล เช่น การซูมภาพ,การเรียกใช้ไม่บรรทัด,การแสดงเส้นกริดและเส้นไกด์

10.  Window ใช้เลือกแสดงพาเนลที่ใช้ในการทำงาน รวมถึงการกำหนดรูปแบบการแสดงวินโดว์ในแบบต่างๆ

11.  Help ใช้แสดงความช่วยเหลือของรายละเอียดการใช้งานโปรแกรมในรูปแบบต่างๆ

ทูลบ็อกซ์ (Toolbox)

          กล่องเครื่องมือ จะประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ เครื่องมือเหล่านี้มีจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการรวมเครื่องมือที่ทำหน้าที่คล้ายๆ กันไว้ในปุ่มเดียวกัน


Panel (พาเนล)


          พาเนล คือ กรอบหน้าต่างย่อยๆที่มีคำสั่งและเครื่องมือในการจัดการ ตรวจสอบและปรับแต่งภาพ เครื่องมือเหล่านี้จะถูกจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่ เช่น พาเนล Color ใช้กำหนดสี , พาเนล Layers ใช้สำหรับจัดการเลเยอร์ เป็นต้น บางพาเนลที่มักใช้ร่วมกันจะถูกจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน เช่น พาเนล Color พาเนล Swatches และ StyLes การเปิดใช้งาน Panel ให้คลิกที่คำสั่ง Windos>ชื่อพาเนล



การยุบ/ขยายพาเนล

          เพื่อเพิ่มพื้นที่การทำงานเราสามารถยุบพาเนลที่ยึดกับแผงพาเนลและคอลัมน์ให้แสดงในรูปไอคอนได้ ซึ่งเมื่อต้องการใช้งานพาเนลใดก็ให้เปิดขึ้นมาเฉพาะพาเนลนั้น

1.  ยุบ/ขยายแผงพาเนลให้เป็นไอคอน ทำได้โดยให้คลิกที่แถบสีเทาเข้มด้านบนแผงพาเนล จากนั้นทุกพาเนลจะถูกยุบเป็นไอคอน




2.ปรับความกว้างของพาเนล






2. เครื่องมือที่สำคัญสำหรับใช้แต่งภาพประกอบไปด้วยกลุ่มเครื่องมืออะไรบ้าง

        

บทความชุดนี้ประกอบด้วยเนื้อหา

รูปที่ 1 Toolbox
ตอนที่ 1 แนะนำความสามารถเด่นๆ
ตอนที่ 2 รู้จักเครื่องมือในการแต่งภาพ
ตอนที่ 3 การใช้งานร่วมกับ โปรแกรมเวกเตอร์
ตอนที่ 4 ใช้งานทำเว็บร่วมกับ Image Ready7และ Dreamweaver
ตอนที่ 5 เปรียบเทียบ Photoshop
หลังจากได้รู้จักกับความสามารถใหม่ๆ ของ Photoshop 7.0 กันไปแล้ว มาในตอนนี้ เราจะศึกษากันถึงการใช้งานเครื่องมือพื้นฐานใน Photoshop 7.0 ซึ่งจะกล่าวถึงทุกเครื่องมือกันเลยทีเดียวนะครับ
ในการใช้งาน Photoshop 7.0 เราจะต้องรู้จักกับการใช้งานเครื่องมือของโปรแกรมกันก่อน เพราะถ้าพื้นฐานในเรื่องนี้ดีแล้ว การตกแต่งภาพ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ซึ่งเครื่องมือทั้งหมดของ Photoshop 7.0 จะอยู่ที่กล่องเครื่องมือ (Toolbox) ดังรูปที่ 1

เลือกส่วนของภาพ

การตกแต่งภาพ เราอาจจะแต่งในภาพเพียงภาพเดียว หรือนำหลายๆ ภาพมาตกแต่งร่วมกัน โดยเลือกบางส่วนในแต่ละภาพมาประกอบกัน เราสามารถเลือกส่วนของภาพนั้นได้ด้วยเครื่องมือที่ชื่อ Marquee Tool ซึ่งเป็นเครื่องมือตัวแรก ของชุดเครื่องมือ ประกอบด้วย

Rectangle Maquee Tool สำหรับเลือกส่วนของภาพในแบบสี่เหลี่ยมตามที่ต้องการ สังเกตว่าที่เครื่องมือนี้ จะมีเครื่องหมายสามเหลี่ยม อยู่ที่มุมล่างด้านขวา แสดงว่าจะมีเครื่องมือในแบบเดียวกันซ่อนอยู่ด้วย โดยเราสามารถเรียกใช้ด้วยการคลิ้กเมาส์ค้างไว้ ก็จะปรากฏเครื่องมือต่างๆ ที่อยู่ในชุดนี้ขึ้นมา

Elliptical Maquee Toolใช้สำหรับเลือกส่วนของภาพในแบบวงกลมหรือวงรีตามที่ต้องการ

Single Row Maquee Toolใช้สำหรับเลือกส่วนของภาพในแบบ 1 พิกเซล ตามแนวนอน

Single Column Maquee Tool ใช้สำหรับเลือกส่วนของภาพในแบบ 1 พิกเซล ตามแนวตั้ง


รูปที่ 2 เลือกส่วนของภาพด้วยเครื่องมือแบบสี่เหลี่ยม และวงรี ตามลำดับ

ย้ายส่วนของภาพ

เมื่อเลือกส่วนของภาพได้แล้ว เราจำเป็นที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายส่วนของภาพนั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของเครื่องมือ Move Tool 

Move Toolสำหรับเคลื่อนย้ายภาพหรือส่วนของภาพที่เราต้องการ ไปยังตำแหน่งใหม่ หรือไปตกแต่งร่วมกับภาพอื่น การใช้งานเพียงแค่คลิ้กเมาส์ที่ส่วนนั้น แล้วลากไปปล่อยทิ้งในตำแหน่งที่ต้องการ

เลือกส่วนของภาพแบบอิสระ

ในการตกแต่งภาพจริงๆ นั้น มักจะมีการเลือกแบบอิสระ หรือตามรูปร่างของบริเวณภาพที่ต้องการ ซึ่งเราสามารถเลือกได้ด้วยเครื่องมือ Lasso Tool โดยเครื่องมือในชุดนี้ จะประกอบด้วยเครื่องมือ 3 ตัวด้วยกัน คือ 

Lasso Tool สำหรับเลือกส่วนของภาพแบบอิสระ ด้วยการคลิ้กเมาส์ค้างไว้ แล้วลากคลุมบริเวณที่เราต้องการ จนแนวเส้นการลากมาบรรจบกันอีกครั้ง ก็จะได้ขอบเขตการเลือกภาพที่ต้องการ สามารถใช้เครื่องมือ Move Tool ในการย้ายเพื่อตกแต่งต่อไปได้ 

Polygonal Lasso Tool สำหรับเลือกส่วนของภาพแบบอิสระ เช่นเดียวกับ Lasso Tool แต่เป็นการเลือกแบบทีละจุด ไปเรื่อยๆ ด้วยการคลิ้กเมาส์ที่จุดแรก แล้วปล่อย แล้วจึงค่อยคลิ้กที่จุดต่อๆ ไป จนแนวเส้นที่คลิ้ก มาบรรจบกันอีกครั้ง 

Magnetic Lasso Tool สำหรับเลือกส่วนของภาพแบบอิสระ เช่นเดียวกับ Lasso Tool แต่เป็นการเลือกแบบเช็กค่าสีของภาพ เราเพียงแค่คลิ้กเมาส์ที่จุดแรก แล้วปล่อย จากนั้นลากเมาส์ไปเรื่อยๆ ให้ใกล้กับบริเวณที่เราต้องการ เครื่องมือนี้จะไล่ไปตามขอบเขตอัตโนมัติ แบบแม่เหล็ก ทำให้การเลือกภาพทำได้ง่ายและรวดเร็ว

เลือกภาพแบบรวดเร็ว

เมื่อเลือกส่วนของภาพด้วยชุดเครื่องมือ Lasso Tool ได้แล้ว แต่ในบางครั้ง ถ้าภาพที่เราตกแต่งมีขอบเขตและบริเวณที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ภาพบนพื้นหลังสีขาว ก็สามารถใช้เครื่องมือ Magic Wand Tool ได้เลยครับ สะดวกและรวดเร็วกว่าเป็นไหนๆ

Magic Wand Tool

สำหรับเลือกส่วนของภาพแบบเช็กช่วงหรือขอบเขตของสีภายในภาพ ทำให้การเลือกส่วนของภาพทำได้สะดวกและรวดเร็วมาก เพียงแค่คลิ้กเมาส์ลงไปยังบริเวณที่ต้องการเท่านั้น ก็จะเป็นการเลือกทันที ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 เลือกฉากหลังของภาพด้วย Magic Wand Tool

เลือกเฉพาะภาพที่ต้องการ

การตกแต่งภาพ อาจได้มาจากภาพที่แสกนหรือจากกล้องดิจิตอล แน่นอนว่าบางครั้ง อาจได้บริเวณที่ไม่ต้องการมาด้วย จำเป็นต้องตัดเอาเฉพาะบริเวณที่ใช้งานจริงเท่านั้น หน้าที่นี้เป็นของ Crop Tool 

Crop Tool สำหรับตัดภาพ เอาเฉพาะบริเวณที่ต้องการเท่านั้น ด้วยการคลิ้กแล้วลากเมาส์คลุมบริเวณที่ต้องการในแบบสี่เหลี่ยม แล้วกดคีย์ Enter หรือดับเบิลคลิ้กภายในขอบเขตขอภาพที่เลือก เท่านั้นก็เรียบร้อยแล้ว

แบ่งภาพออกเป็นชิ้นเล็กๆ

โปรแกรม Photoshop ตั้งแต่เวอร์ชัน 5.5 ขึ้นมา จะมีส่วนของการทำงานที่รองรับเว็บมากมาย และก็จะมีเครื่องมือหนึ่ง ที่ได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ นั่นคือ Slice Tool ที่ใช้สำหรับตัดภาพออกเป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งเครื่องมือในชุดนี้มีด้วยกัน 2 ตัว ประกอบด้วย 

Slice Tool สำหรับตัดภาพออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ตามการลากของเมาส์ เพียงแค่ลากคลุมแบบสี่เหลี่ยมที่บริเวณที่ต้องการ ภาพจะถูกตัดแบ่งออกเป็นส่วนเล็กๆ ทั้งหมดโดยอัตโนมัติ พร้อมกับเราสามารถบันทึก และโปรแกรมจะสร้างโค้ด HTML สำหรับภาพที่ตัดนี้ โดยอัตโนมัติ ทำให้การโหลดภาพบนเว็บเพจที่เราออกแบบ ทำได้อย่างรวดเร็วมากๆ เราคงพบเห็นเทคนิคการ Slice นี้บ่อยๆ เวลาที่เยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต 

Slice Select Tool สำหรับเลือกส่วนของภาพที่ได้ตัดออกมาแล้วด้วย Slice Tool เพื่อทำการปรับแต่งต่างๆ ต่อไป ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 ตัดภาพออกเป็นส่วนๆ ด้วย Slice Tool โดยจะมีไฟล์ HTML ควบคุมอยู่

ลบจุด ริ้วรอย และตำหนิของภาพ

ใน Photoshop 7.0 เปิดตัวเครื่องมือใหม่ Heal Tool ที่ใช้ในเรื่องของการลบจุดตำหนิ ต่างๆ ซึ่งเครื่องมือในชุดนี้มีด้วยกัน 2 ตัว ประกอบด้วย 

Healing Brush Tool สำหรับคัดลอก หรือก๊อบปี้พื้นที่ที่เราต้องการ มายังตำแหน่งที่เราต้องการที่เป็นจุดตำหนิ โดยยังคงรักษาคุณสมบัติของแสง เงา ไว้ได้ เราจึงนิยมนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องของการลบจุด ริ้วรอย หรือตำหนิต่างๆ บนภาพ จะใช้มากในเรื่องของการตกแต่งใบหน้าคน หรือที่เรียกว่าการ Retouch ภาพ 

Patch Tool การทำงานคล้ายกับ Healing Brush ต่างกันที่จะเป็นการนำพื้นที่ๆ เราเลือกด้วยเครื่องมือสำหรับทำการเลือก (Selection) ต่างๆ อย่าง Lasso Tool มาปะลงยังจุดที่มีตำหนิ ซึ่งมีความแนบเนียน และกลมกลืนไม่แพ้กัน โดยผู้อ่านสามารถดูการใช้งานเครื่องมือทั้ง 2 ชิ้นนี้อย่างละเอียดได้ในตอนที่ 1 "เจาะความสามารถใหม่สุดยอดโปรแกรมแต่งภาพ Photoshop 7.0"

ระบายภาพ และเขียนเส้น

การระบายภาพและวาดเส้น เป็นการตกแต่งภาพพื้นฐานสำหรับโปรแกรมตกแต่งภาพ ใน Photoshop โดยจะมีเครื่องมือเหล่านี้อยู่ด้วยกัน 2 ตัว ประกอบด้วย 

Brush Tool ระบายสีด้วยสีที่เลือกจากช่องสี //pic17.tif ใน Toolbox ด้วยการคลิ้กเมาส์ค้างไว้ แล้วลากไปมา ที่บริเวณของภาพที่ต้องการ 

Pencil Tool วาดเส้นลงบนส่วนของภาพตามที่ต้องการ โดยมีลักษณะคล้ายกับการวาดภาพด้วยดินสอ ซึ่งสีเส้นจะเป็นไปตามสีที่กำหนดที่ช่องสีใน Toolbox เช่นเดียวกัน

คัดลอกส่วนของภาพ

การแต่งภาพ บางครั้งมีความจำเป็นต้องคัดลอกพื้นที่ส่วนของภาพใกล้เคียง มาทับที่บริเวณอื่น เช่น อาจนำมาใช้ในการลบจุดตำหนิที่ได้กล่าวไปแล้ว หรือจะเป็นการเพิ่มองค์ประกอบของภาพเพิ่มเติมเป็นต้น ซึ่งเราจะใช้เครื่องมือ Stamp Tool สำหรับงานนี้ ซึ่งเครื่องมือในชุดนี้มีด้วยกัน 2 ตัว ประกอบด้วย 

Clone Stamp Tool สำหรับคัดลอกพื้นที่ที่ต้องการเพิ่มเติม ด้วยการกดคีย์ Alt (Windows) หรือ Option (แมคอินทอช) ค้างไว้ แล้วคลิ้กที่ตำแหน่งที่ต้องการคัดลอกในภาพ เพื่อเป็นการกำหนดเป้าหมายก่อน จากนั้นจึงคลิ้กเมาส์แล้วระบายไปที่พื้นที่ใหม่ที่ต้องการนำภาพที่คัดลอก ไปวางไว้ 

Patern Stamp Tool สำหรับคัดลอกพื้นที่ที่ต้องการเพิ่มเติม เช่นเดียวกันกับ Clone Stamp แต่การกำหนดเป้าหมายของพื้นที่ภาพที่คัดลอกจะต่างกัน โดยเราต้องทำการเลือกพื้นที่ที่ต้องการก่อน แล้วจึงเลือกเมนูคำสั่ง Edit > Define Pattern เพื่อกำหนดให้เป็นลวดลายที่ต้องการ จากนั้น จึงจะสามารถใช้เครื่องมือนี้ระบายเพื่อคัดลอกลวดลายที่เลือกไว้ได้ โดยการระบายจะเรียงต่อๆ กันไป

ยกเลิกการระบาย และวาดภาพ

หากระบายหรือวาดภาพแล้วเกิดผิดพลาด เช่น อาจจะระบายเกินไปยังบริเวณที่ไม่ต้องการ หรือเปลี่ยนใจต้องการยกเลิก เราสามารถใช้ History Brush Tool ช่วยได้ นี้ ซึ่งเครื่องมือในชุดนี้มีด้วยกัน 2 ตัว ประกอบด้วย 

History Brush Tool ยกเลิกการระบายภาพก่อนหน้า ด้วยการใช้เครื่องมือนี้ระบายทับลงไป เส้นหรือแนวระบายที่คุณวาดเอาไว้ก็จะหายไป กลับสู่ภาพต้นฉบับดังเดิม 

Art History Brush Tool ทำหน้าที่คล้ายกับ History Brush ต่างกันตรงพื้นที่ที่ยกเลิกการวาดหรือระบาย จะมีลวดลายแบบสีน้ำมันเกิดขึ้น และเครื่องมือนี้ สามารถใช้ได้แม้จะไม่มีการระบายหรือวาดด้วยเครื่องมือใดๆ เราอาจประยุกต์ใช้ในลักษณะการสร้างแบ็กกราวนด์ของภาพได้

ลบส่วนของภาพแบบที่ไม่ต้องการ

แต่งภาพแล้วแน่นอนว่าต้องมีการลบส่วนของภาพที่ไม่ต้องการออกไป หรืออาจจะวาดหรือระบายภาพไปแล้วผิดพลาดก็ต้องลบทิ้งไป หน้าที่นี้เป็นของ Erasor Tool ซึ่งตั้งแต่เวอร์ชัน 6.0 ได้มีการพัฒนาเครื่องมือในชุดนี้อย่างต่อเนื่อง โดยจะมีด้วยกัน 3 ตัว ประกอบด้วย 

Erasor Tool สำหรับลบส่วนของภาพทิ้งไป ด้วยการระบายลงไปที่พื้นที่ที่ต้องการลบ โดยพื้นที่ที่ถูกลบจะถูกแทนด้วยสีด้านหลัง (Background) ที่อยู่ในช่องสี 

Background Erasor Tool ลบส่วนของภาพทิ้งไป ด้วยการระบายลงไปที่พื้นที่ที่ต้องการลบ โดยพื้นที่ที่ถูกลบจะถูกแทนด้วยสีโปร่งใส (Transparent) 

Magic Erasor Tool ลบส่วนของภาพทิ้งไป ด้วยการคลิ้กเพียงครั้งเดียว ลงไปที่พื้นที่ที่ต้องการลบ โดยพื้นที่ที่ถูกลบจะถูกแทนด้วยสีโปร่งใสเช่นเดียวกัน โดยจะตรวจสอบตามค่าสีเป็นหลัก คล้ายกับการทำงานของ Magic Wand ดังรูปที่ 5
รูปที่ 5 ลบส่วนของภาพในแบบที่ต้องการด้วย Erasor, Background Erasor และ Magic Erasor

ระบายสีแบบไล่โทน และแบบปกติ

การระบายสีลงบนภาพ เป็นการแต่งภาพที่ทำกันบ่อยมาก มีทั้งแบบปกติและแบบไล่โทน ซึ่งเราจะใช้เครื่องมือ Gradient Tool และ Paint Bucket Tool เป็นหลัก ดังนี้ 

Gradient Tool ระบายสีลงบนภาพแบบไล่โทนสีจากสีด้านหน้าไปหาสีด้านหลัง ตามค่าสีที่กำหนด มักพบบ่อยในเรื่องของการทำแบ็กกราวนด์ภาพ 

Paint Bucket Tool ระบายสีลงบนภาพแบบปกติ โดยสีที่ระบายลงไปจะเป็นสีด้านหน้าที่เรากำหนดไว้

ปรับแต่งภาพให้เบลอ หรือชัด

การตกแต่งภาพไม่ว่าจากการแสกน หรือกล้องดิจิตอล มักเกิดปัญหากับภาพ เช่น ไม่ชัด เป็นต้น หรือในการแต่งภาพให้ดูนุ่มนวล แนบเนียน ก็เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เช่นกัน เราสามารถใช้เครื่องมือ Blur, Sharpen และ Smudge Tool ช่วยได้ไม่ยาก ดังนี้ 

Blur Tool ทำภาพให้เบลอหรือมัวลงจากเดิม ด้วยการระบายลงไปที่บริเวณที่ต้องการ สามารถประยุกต์ใช้ในการทำแบ็กกราวด์หรือส่วนของภาพให้ดูนุ่มนวลขึ้นได้ 

Sharpen Tool ทำภาพให้คมชัดขึ้น ด้วยการระบายลงไปที่บริเวณที่ต้องการ สามารถประยุกต์ใช้ในการทำภาพที่ไม่ชัด จากการแสกนหรือจากกล้องดิจิตอลได้ ทำให้ภาพชัดเจน เห็นรายละเอียดมากขึ้น 

Smudge Tool ตกแต่งบริเวณของภาพให้ดูแนบเนียนขึ้น ด้วยการลากระบายลงไปที่บริเวณที่ต้องการ ใช้บ่อยๆ ในเรื่องของการ Retouch ภาพถ่าย

ปรับแต่งภาพ

การตกแต่งภาพให้ดูสวยงาม ด้วยการเพิ่มความสว่าง หรือเพิ่มความเข้มของภาพให้สีเข้มขึ้น รวมถึงการทำให้สีจางลงได้ด้วย Dodge, Burn และ Sponge Tool ตามลำดับ ดังนี้ 

Dodge Tool ทำภาพให้สว่าง ด้วยการระบายลงไปที่บริเวณที่ต้องการ สามารถประยุกต์ใช้ทำให้ภาพสว่างเฉพาะส่วนที่ต้องการได้ 

Burn Tool ทำภาพให้มีสีเข้ม ด้วยการระบายลงไปที่บริเวณที่ต้องการ สามารถประยุกต์ใช้ทำให้มีสีเข้มเฉพาะส่วนที่ต้องการได้ 

Sponge Tool ทำภาพให้มีสีจางหรือซีดลง ด้วยการระบายลงไปที่บริเวณที่ต้องการ สามารถประยุกต์ใช้ทำให้มีสีจางลงเฉพาะส่วนที่ต้องการได้

การเลือกพาธ (Path)

การเลือกส่วนของภาพสามารถทำได้ด้วยเครื่องมืออีกตัวคือ Pen Tool ที่จะกล่าวถึงต่อไป ซึ่งเมื่อเลือกแล้วจะมีจุดสี่เหลี่ยมล้อมรอบ เรียกว่าจุด "แองเคอร์" (Anchor) เราสามารถเลือกหรือแก้ไขได้ด้วยเครื่องมือ Path Selection Tool ซึ่งเครื่องมือในชุดนี้มีด้วยกัน 2 ตัว ประกอบด้วย 

Path Selection Tool เลือกเส้นทาง Path ที่ได้ทำไว้ด้วยเครื่องมือ Pen Tool ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้ตามต้องการ 

Direct Selection Tool สำหรับเลือกจุดสี่เหลี่ยมบนเส้น Path เพื่อการปรับแต่ง เปลี่ยนรูปร่างของเส้นพาท ต่อไป

พิมพ์ข้อความในสไตล์คุณ

เราสามารถพิมพ์ข้อความลงบนภาพได้ ตามต้องการ โดยใน Photoshop 7.0 สามารถพิมพ์ภาษาไทยได้แล้ว รองรับฟอนต์หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น JS, DS, PSL หรือตระกูล P5, P6 ซึ่งเครื่องมือในชุดนี้มีด้วยกัน 4ตัว ประกอบด้วย 

Horizontal Type Tool พิมพ์ข้อความแบบตัวอักษรแนวนอนปกติ ลงบนภาพตามที่ต้องการ 


Vertical Type Tool พิมพ์ข้อความแบบตัวอักษรแนวตั้ง ลงบนภาพตามที่ต้องการ 

Horizontal Type Mask Tool พิมพ์ข้อความแบบตัวอักษรโปร่งมีเพียงลายเส้นกรอบแบบแนวนอน ลงบนภาพตามที่ต้องการ 

Vertical Type Mask Tool พิมพ์ข้อความแบบตัวอักษรโปร่งมีเพียงลายเส้นกรอบแบบแนวตั้ง ลงบนภาพตามที่ต้องการ

เลือกส่วนของภาพแบบซับซ้อน

นอกจากการเลือกส่วนของภาพด้วยเครื่องมือในชุด Lasso Tool แล้ว เรายังสามารถเลือกส่วนของภาพด้วยเครื่องมือ Pen Tool ได้อีกด้วย ซึ่งเครื่องมือในชุดนี้มีด้วยกัน 5 ตัว ประกอบด้วย

Pen Tool เลือกส่วนของภาพที่ต้องการ ด้วยการคลิ้กเมาส์แล้วปล่อยที่จุดเริ่มต้น แล้วคลิ้กไปเรื่อยๆ จนคลุมบริเวณที่ต้องการ ก็จะได้แนวเส้นพาทล้อมรอบ

Freeform Pen Tool เลือกส่วนของภาพที่ต้องการแบบอิสระ ด้วยการคลิ้กเมาส์พร้อมกับลากเมาส์ไปคลุมรอบๆ บริเวณที่ต้องการ แล้วค่อยปล่อยเมาส์ ก็จะได้แนวเส้นพาทล้อมรอบ

Add Anchor Point Tool เพิ่มจุดแองเคอร์เพิ่มเติม เข้าไปที่เส้นพาท เพื่อการปรับแต่ง แนวเส้นเพิ่มเติม ตามต้องการ

Delete Anchor Point Tool ลบจุดแองเคอร์เพิ่มเติม ที่มีอยู่เดิมที่เส้นพาท เพื่อการปรับแต่ง แนวเส้นตามต้องการ

Convert Anchor Point Tool ดัดแปลงแนวเน้นพาทที่ได้ทำไว้ ให้มีโค้ง เอียง ตามต้องการ ดังรูปที่ 6
<..1.เลือกส่วนของภาพด้วย Pen Tool..>
<..2. คลิ้กจนจุดเริ่มต้นกับสุดท้ายมาบรรจบกันจะได้แนวเส้นพาทเกิดขึ้น..>
รูปที่ 6 เลือกส่วนของภาพที่ต้องการด้วย Pen Tool

วาดรูปร่างต่างๆ

ใน Photoshop 7.0 นี้ได้เพิ่มเครื่องมือสำหรับการวาดรูปร่างต่างๆ เพิ่มเติมขึ้นจากในเวอร์ชันก่อนหน้า ซึ่งมีด้วยกัน 6 ตัว ประกอบด้วย


Rectangle Tool สำหรับวาดรูปสี่เหลี่ยม


Rounded Rectangle Tool สำหรับวาดรูปสี่เหลี่ยมขอบมน


Ellipse Tool สำหรับวาดรูปวงรี


Polygon Tool สำหรับวาดรูปหลายเหลี่ยม


Line Tool สำหรับวาดเส้น


Custom Shape Tool สำหรับวาดรูปเหลี่ยม ในแบบที่เราเลือกได้เอง 

อธิบายรายละเอียดของภาพ

เราสามารถเพิ่มการอธิบายให้กับภาพได้ทั้งในแบบข้อความธรรมดา และในแบบเสียงได้ ด้วยการใช้ Notes และ Audio Annotation ตามลำดับ ดังนี้

Notes Tool สำหรับใส่คำอธิบายแบบข้อความธรรมดา ให้กับภาพตามที่เราต้องการ ด้วยการคลิ้กลงไปที่ภาพ พร้อมกับกรอกรายละเอียดที่ต้องการเกี่ยวกับภาพในหน้าต่างเล็กๆ ที่ปรากฏขึ้น เมื่อใครนำไปใช้ก็สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับภาพนี้ได้

Audio Annotation Tool สำหรับใส่คำอธิบายแบบเสียง ให้กับภาพตามที่เราต้องการ ด้วยการคลิ้กลงไปที่ภาพ แล้วเริ่มอัดเสียงของเราผ่านทางไมโครโฟน เพื่อบันทึก ลักษณะจะคล้ายกับการอัดเทปเสียง และผู้ที่ใช้ไฟล์นี้ ก็จะสามารถเปิดฟังได้

กำหนดสีจากภาพ ตรวจสอบค่าสี และวัดระยะห่าง

การทำงานกับค่าสี มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะบ่อยครั้งที่เราต้องการสีใดสีหนึ่ง โดยเฉพาะ เราอาจบันทึกค่าสีนั้น ในแบบเลขฐาน 16 ก็ได้ โดยการทำงานกับค่าสีนั้น สามารถทำได้ผ่านทางเครื่องมือ Eye Dropper ซึ่งเครื่องมือในชุดนี้มีด้วยกัน 3 ตัว ประกอบด้วย

Eye Dropper Tool สำหรับเลือกสีที่ต้องการ จากสีของภาพที่บริเวณที่เราต้องการ โดยเราไม่ต้องไปตรวจสอบค่าสีเอง เพียงแค่คลิ้กเมาส์ลงไปที่ภาพ สีใน Color Box ก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

Color Sampler Tool สำหรับตรวจสอบค่าสีภายในภาพที่เราต้องการทราบ เพียงคลิ้กลงไปที่ภาพ จะปรากฏหน้าต่างพาเล็ตต์ (Palette) ย่อย Info ทางด้านขวาขึ้นมา ทำให้เราทราบค่าสีทั้งในรูปแบบ RGB, CMYK รวมถึงระยะพิกัด (X, Y) ของภาพที่เราตรวจสอบอยู่ด้วย

Measure Tool สำหรับวัดระยะจากจุดหนึ่งของภาพ ไปยังอีกจุดหนึ่ง เพียงคลิ้กเมาส์ที่จุดเริ่มต้นแล้วลากไปยังจุดปลายที่ต้องการวัด ก็จะปรากฏระยะความกว้าง (W) และมุม (A) ที่พาเล็ตต์ Info เช่นเดียวกัน

ขยายมุมมองของภาพให้ง่ายต่อการตกแต่ง

การแก้ไขและตกแต่งภาพที่มีขนาดเล็ก หรือกับการตกแต่งภาพเฉพาะส่วน แน่นอนว่าเราต้องขยายมุมมองของภาพขึ้นมา ซึ่งสามารถทำได้ด้วย Zoom Tool

Zoom Tool สำหรับขยายมุมมองของภาพให้มีขนาดใหญ่กว่าขนาดจริงที่ 100% เพื่อให้ง่ายต่อการตกแต่งแก้ไข

เลื่อนดูภาพที่ขยายมุมมอง

เมื่อมีการขยายมุมมองของภาพขึ้นมา เพื่อให้ง่ายต่อการตกแต่งแก้ไขแล้ว บ่อยครั้งที่เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำงานกับภาพทั้งภาพ ซึ่งเราก็สามารถเลื่อนไปดูส่วนของภาพที่ต้องการได้ด้วย Hand Tool

Hand Tool สำหรับเลื่อนดูส่วนของภาพในส่วนที่ต้องการ เมื่อมีการขยายมุมมองของภาพให้มีขนาดใหญ่เกินกว่าขนาดจริงที่ 100% ซึ่งในการทำงานจริงๆ นั้น เรามักจะใช้ ทำงานควบคู่ไปกับ Zoom Tool เสมอ

Toolbox ต้องทำงานร่วมกับแถบตัวเลือกเสมอ

เราได้ทราบแล้วนะครับว่าเครื่องมือใน Toolbox แต่ละตัว มีหน้าที่อะไรบ้างในการตกแต่งภาพ แต่ในการทำงานจริงๆ แล้ว เราต้องใช้งานเครื่องมือใน Toolbox ร่วมกับแถบตัวเลือก หรือ ออปชันบาร์ (Option Bar) ที่อยู่ทางด้านบนเสมอ เพื่อให้เหมาะกับการตกแต่งภาพ สังเกตได้ว่า เมื่อเราคลิ้กที่เครื่องมือตัวใด ส่วนของ Option Bar จะมีตัวเลือกเปลี่ยนไปตามเครื่องมือนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น การใช้เครื่องมือ Paint Brush กับการแต่งภาพ เราสามารถเลือกขนาดและรูปแบบของหัวแปรงได้จาก Option Bar ด้านบน เพื่อให้เหมาะกับพื้นที่ของภาพ ซึ่งจะมีทั้งบริเวณที่กว้างและแคบ ได้อย่างเหมาะสม
1. เลือกเครื่องมือ Paint Brush
2.เลือกรูปแบบของหัวแปรงและขนาดจากแถบ
Option Bar ด้านบน

จุดเด่นของโปรแกรม คือเลเยอร์

นอกจากเราควรที่จะทำความเข้าใจในเรื่องการใช้เครื่องมือใน Toolbox แล้ว เราควรเข้าใจด้วยว่าการทำงานกับภาพใน Photoshop จะมีการจัดการในแบบ "เลเยอร์ (Layer)" คือ จะมีการแยกองค์ประกอบหรือส่วนของภาพเป็นชั้นๆ คล้ายกับแผ่นใส ที่วางซ้อนทับกันตามลำดับ เริ่มจากเลเยอร์ Background เสมอ แล้วซ้อนทับไปเรื่อยๆ จนได้ภาพสุดท้าย ซึ่งทำให้ง่ายในการตกแต่งแก้ไข
การตกแต่งแก้ไขภาพ จะแยกเป็นเลเยอร์ สังเกต
จากพาเลตต์ Layer ทางด้านขวาของโปรแกรม

พาเล็ตต์ทางด้านขวา ช่วยเสริมการทำงาน

เราได้ศึกษาส่วนประกอบหลักๆ ของโปรแกรมกันไปแล้วไม่ว่าจะเป็น Toolbox, Option Bar และ Layer กันไปแล้ว นอกเหนือจากนี้ เราก็จะทำงานร่วมกับพาเล็ตต์ (Palette) ที่อยู่ทางด้านขวาเป็นครั้งคราว อาทิ Channel Palette เวลาที่ทำงานเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบเรื่องสีของภาพ, Path Palette เวลาที่ทำงานในเรื่องของการสร้าง Path, Swatches Palette เวลาที่ทำงานเกี่ยวกับการเลือกสี หรือ History Palette เวลาที่ย้อนกลับการทำงานหรือ Undo ขั้นตอนการทำงานที่ผ่านมา เป็นต้น ซึ่งรายะเอียดจะกล่าวถึง เมื่อเราเริ่มตกแต่งแก้ไขภาพกันครับ


รูปที่ 7 Channel, History และ Swatches Palette




3. คอมพิวเตอร์กราฟิกหมายถึง

          
 ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก
             
กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซื่งใช้การสื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย
กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้รับสารต้องการ
            คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ
โดยใช ้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ เช่น การทำตกแต่งภาพที่เรียกว่า Image Retouching ภาพคนแก่      
      ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ
 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิก
           ในปี ค.ศ. 1940 คอมพิวเตอร์จะแสดงภาพกราฟิกโดยใช้เครื่องพิมพ์ โดยรูปภาพที่ได้จะเป็นภาพที่เกิดจากการใช้ตัวอักษรมาประกอบกัน ในปี ค.ศ. 1950 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาซูเซสต์
     ( Massachusetts Institue Technology : MIT] ได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลอดภาพ CRT(CathodeRayTube)เป็นส่วนแสดงผลแทนเครื่องพิมพ์เนื่องจากมีความต้องการที่จะให้การติดต่อระหว่างผู้ใช้
     กับเครื่องคอมพิวเตอร์มีความเร็วยิ่งขึ้น ในปี ค.ศ. 1950 ระบบ SAGE (Semi - Automatic Ground Environment) ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาสามารถแปลงสัญญาณจากเรดาร์ ให้เป็นภาพบนจอ
     คอมพิวเตอร์ได้ ระบบนี้เป็นระบบกราฟิก เครื่องแรกที่ใช้ปากกาแสง ( Light Pen : เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลชนิดหนึ่ง) สำหรับการเลือกสัญลักษณ์ บนจอภาพได้ ในปี ค.ศ. 1950 - 1960     
     มีการทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก
            ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1963 วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ อีวาน ซูเธอร์แลนด์ ( Ivan Sutherland) เป็นการพัฒนาระบบการวาดเส้น      ซึ่งผู้ใช้สามารถกำหนดจุดบนจอภาพได้โดยตรงโดยการใช้ปากกาแสง จากนั้นระบบกราฟิกจะสามารถลากเส้นเชื่อมจุดต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน กลายเป็นภาพโครงสร้างรูปหลายเหลี่ยม    
     ระบบนี้ได้กลายเป็นหลักการพื้นฐานของโปรแกรมช่วยในการออกแบบระบบงานต่างๆ เช่น การออกแบบระบบไฟฟ้า และการออกแบบเครื่องจักร เป็นต้น ในระบบหลอดภาพ CRT สมัยแรกนั้น     
     เราสามารถวาดเส้นตรงระหว่างจุดสองจุดบนจอภาพได้ แต่ภาพเส้นที่วาดจะจางหายไปจากจอภาพอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการวาดซ้ำลงที่เดิมหลายๆ ครั้งในหนึ่งวินาที เพื่อให้เราสามารถมองเห็นว่า
     เส้นไม่จางหายไป ซึ่งระบบแบบนี้มีราคาแพงมากในช่วงต้นปี ค.ศ. 1960
             แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1965 จึงมีราคาถูกลงเนื่องจากบริษัท ไอบีเอ็ม ( IBM) ได้ผลิตออกมาขายเป็นจำนวนมากในราคาเครื่องละ 100,000 ดอลลาร์ จากการที่ราคาของจอภาพถูกลงมากนี่เอง     
      ทำให้สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มเป็นที่สนใจของคนทั่วไป นปี ค.ศ. 1968 บริษัท เทคโทรนิกส์ ( Tektronix) ได้ผลิตจอภาพแบบเก็บภาพไว้ได้จนกว่าต้องการจะลบ ( Storage - Tube CRT)     
     ซึ่งระบบนี้ไม่ต้องการหน่วยความจำและระบบการวาดซ้ำ จึงทำให้ราคาถูกลงมาก บริษัทตั้งราคาขายไว้เพียง 15,000 ดอลลาร์เท่านั้น จอภาพแบบนี้จึงเป็นที่นิยมกันมากในช่วงเวลา 5 ปี ต่อมา กลางปี
     ค.ศ. 1970 เป็นช่วงเวลาที่อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์เริ่มมีราคาลดลงมาก ทำให้ฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกมีราคาถูกลงตามไปด้วย ผู้ใช้ทั่วไปจึงสามารถนำมาใช้ในงานของตนได้     
     ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มแพร่หลายไปในงานด้านต่างๆ มากขึ้น
             สำหรับซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกก็ได้มีการพัฒนาควบคู่มากับฮาร์ดแวร์เช่นกัน ซึ่งมีการเริ่มต้นจาก อีวาน ซูเธอร์แลนด์ ผู้ซึ่งได้ออกแบบวิธีการหลักๆ รวมทั้งโครงสร้างข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร
์     กราฟิก ต่อมาก็มี สตีเฟน คูน ( Steven Coons, 1966) และ ปิแอร์ เบเซอร์ ( Pierre Bazier , 1972) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเส้นโค้งและภาพพื้นผิว ทำให้ปัจจุบันเราสามารถสร้างภาพ 3 มิติ ได้สมจริงสมจัง
     มากขึ้น ในช่วง 10 ปีต่อมาได้มีการพัฒนาวิธีการสร้างภาพมากมายสำหรับใช้ในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก และปัจจุบันเราก็ได้เห็นผลงานที่สวยงามและแปลกตา ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัยต่างๆ
     ในอดีตนั่นเอง
 ภาพกราฟิกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ และแบบ 3 มิติ
            ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด สัญลักษณ์ การ์ตูนต่าง ๆ ในโทรทัศน์ เช่น ชินจัง โดเรม่อน
              ภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ เช่น 3D max, Maya ทำให้ได้ภาพที่มีสีและแสงเงาเหมือนจริง เหมาะสำหรับการออกแบบและสถาปัตยกรรม เช่น การผลิตรถยนต์
        และภาพยนตร์การ์ตูน 3 มิติ
               


4. นักศึกษาคิดว่าคอมพิวเตอร์กราฟิกมีความสำคัญอย่างไรต่อชีวิตประจำวัน
         


บทที่ 2 
หลักการสร้างงานกราฟิกและเครื่องมือพื้นฐาน 

หลักการสร้างงานกราฟิก
 
ภาพกราฟิก  เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่เราสามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันทั่วไปได้ในรูปแบบของแผ่นโฆษณา  งานนำเสนอ  กล่องสินค้า  และเว็บไซต์ต่างๆ  ทำให้ผู้ชมเกิดความสนใจในสิ่งที่นำเสนอ  และที่ใกล้ตัวมากขึ้นคือ  การตกแต่งภาพถ่าย  ที่นักเรียนสามารถตกแต่งภาพไปใช้งานเนื่องในโอกาสต่างๆ ในการเรียนและในชีวิตประจำวันได้  นักเรียนจึงควรศึกษาการทำงานกับกราฟิกบนคอมพิวเตอร์ และความสามารถในการสร้างงานกราฟิกของโปรแกรม GIMP
 
หลักการสร้างงานกราฟิก
 
ก่อนอื่นเราต้องทำการวางแนวทางของชิ้นงานก่อนว่าจะนำเสนอเรื่องอะไร  ใช้สี  ภาพ และข้อความอะไร  จะทำให้ทราบถึงแนวทางการสร้างชิ้นงานกันต่อ  ซึ่งอาจจะไม่ตายตัวเสมอไปแต่ก็พอเป็นแนวทางสรุปโดยรวมได้ดังนี้
 
1. การกำหนดพื้นหลังของภาพ
เป็นการกำหนดภาพ  หรือสีพื้นหลัง  โดยภาพหรือสีพื้นหลังที่ใช้นั้นควรมีโทนสีให้อารมณ์และสื่อความหมายได้ถูกต้องตามจุดประสงค์ของชิ้นงาน
2. การเลือกพื้นที่ภาพที่ใช้งาน
เป็นการตัด  หรือคัดลอกบางส่วนของภาพต่างๆ  ที่เราจะนำมาใช้ในชิ้นงานของเรา
3. การจัดวางภาพให้เหมาะสมการนำภาพส่วนประกอบมารวมกันเป็นชิ้นงาน  อาจมีบางภาพที่มีขนาดและมุมการจัดวางไม่ลงตัว  เราก็สามารถขยาย  หมุน  และบิดภาพให้เข้ากัน
4. การใส่ข้อความ
เป็นการใส่ข้อความที่เป็นชื่อเรื่อง  หรือคำบรรยายต่างๆ เข้าไปตกแต่งเพิ่มเติม
5. การนำภาพส่วนประกอบมาจัดซ้อนกัน
การนำภาพส่วนประกอบที่เลือกไว้มาทำการซ้อนกัน  โดยบางส่วนอาจจะอยู่ด้านบน  หรือด้านล่างตามจุดประสงค์ที่วางไว้
6. ตกแต่งทุกส่วนประกอบเข้ากันอย่างกลมกลืน
สุดท้ายจะพิจารณาภาพรวมชิ้นงานที่ได้  และปรับแต่งรายละเอียดของภาพประกอบแต่ละส่วนให้ดูกลมกลืนกัน  เพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงาม
ที่มา : สร้างงานกราฟิก และตกแต่งภาพอย่างไร้ขีดจำกัดด้วย GIMP สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟแวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักพิมพ์บริษัทซัคเซส มีเดีย จำกัด

คอมพิวเตอร์กราฟิกกราฟิก
Computer Grapic "กราฟิก" ( Graphic ) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึง การเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำและคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram )ภาพสเก็ต ( Sketch )หรือแผนสถิติ ( Graph )หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่องTitle ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้ วัสดุกราฟิกทางการศึกษา เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาดและสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน และแผนสถิติ
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิก
ในปี ค.ศ. 1940 คอมพิวเตอร์จะแสดงภาพกราฟิกโดยใช้เครื่องพิมพ์ โดยรูปภาพที่ได้จะเป็นภาพที่เกิดจากการใช้ตัวอักษรมาประกอบกัน
ในปี ค.ศ. 1950 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาซูเซสต์ (Massachusetts Institue Technology : MIT] ได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลอดภาพCRT(Cathode Ray Tube) เป็นส่วนแสดงผลแทนเครื่องพิมพ์ เนื่องจากมีความต้องการที่จะให้การติดต่อระหว่างผู้ใช้กับ เครื่องคอมพิวเตอรมีความเร็วยิ่งขึ้น
ในปี ค.ศ. 1950 ระบบ SAGE (Semi - Automatic Ground Environment)ของกองทัพอากาศ สหรัฐอเมริกาสามารถแปลงสัญญาณจากเรดาร์ให้เป็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ได้ ระบบนี้เป็นระบบกราฟิก เครื่องแรกที่ใช้ปากกาแสง (Light Pen : เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลชนิดหนึ่ง)สำหรับการเลือกสัญลักษณ์ บนจอภาพได้
ในปี ค.ศ. 1950 - 1960 มีการทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกสมัยใหม่
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์กราฟิก
1. ใช้แสดงผลงานด้วยภาพแทนการแสดงด้วยข้อความ ซึ่งช่วยให้เข้าใจได้ง่าย และน่าสนใจมากกว่า
2. ใช้แสดงแผนที่ แผนผัง และภาพของสิ่งต่างๆ ซึ่งภาพเหล่านี้ไม่สามารถแสดงในลักษณะอื่นได้
3. ใช้ในการออกแบทางด้านต่างๆ เช่น ออกแบบบ้าน รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า
4. ได้มีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาช่วยทางการด้านเรียนการสอน โดยเฉพาะในวิชาที่ต้องใช้ภาพ
5. คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการจำลองสถานการณ์เพื่อหาคำตอบว่า ถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น
6. คอมพิวเตอร์กราฟิกสามารถนำมาสร้างภาพนิ่ง ภาพสไลด์ ภาพยนต์ และรายการวิดีโอ
7. คอมพิวเตอร์กราฟิกที่มีผู้รู้จัก และนิยมใช้กันมากคงจะได้แก่ เกมส์คอมพิวเตอร์